หลักสูตร เทคนิคการทำงานร่วมกับคนทุก Gen ด้วยหลัก DISC

หลักการและเหตุผล

            ในสังคมแห่งการแข่งขัน และเป็นยุคแห่งทุนนิยม ทำให้เกิดสภาวะความเครียด ความวิตกกังวลจนก่อให้เกิดความทุกข์ในการใช้ชีวิตและการทำงาน และหากชีวิตมีแต่ความทุกข์ ย่อมส่งผลกระทบต่อการทำงานในภาพรวม ลองถามใจตัวเองว่า งานจะดีได้อย่างไร หากวันนี้ใจเรายังไม่มีความสุข

            สถาบัน Dr.fish ได้จัดหลักสูตร “เทคนิคการทำงานร่วมกับคนทุก Gen ด้วยหลัก DISC" เพื่อให้พนักงานในองค์กร เกิดความสุขต่อตนเอง มองเห็นภาพตนเองอย่างมีเป้าหมายมีการคิดในการสร้างความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังสร้างให้พนักงานมีจิตสำนึกการรักองค์กร มีความเชื่อมั่น และศรัทธาในองค์กร มีการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข พร้อมสร้างความรับผิดชอบที่เกิดจากตนเอง นำองค์กรพิชิตเป้าหมายตามแผนที่วางไว้ได้อย่างสัมฤทธิ์ผล

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจในพฤติกรรมตนเองและพร้อมปรับตัวเข้าหาผู้อื่น
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทัศนคติเชิงบวกต่อตนเองและผู้อื่นในการประสานงานด้วยความเข้าใจ

หัวข้อการอบรม

  1. เรียนรู้ความแตกต่างของช่องว่างระหว่างวัยเพื่อการทำงานร่วมกัน
  2. เรียนรู้หลักพฤติกรรมความแตกต่างของคนด้วยหลักคิด DISC ตามหลัก William Moulton Marston
  3. เรียนรู้หลักคิดการปรับตัวเข้าหาผู้อื่นด้วยหลัก DISC เพื่อการปรับตัวเข้าหากัน
  4. เรียนรู้ทัศนคติเชิงบวกในการมองผู้อื่นด้วยการจับถูกให้มากกว่าจับผิดเพื่อความสุขในการทำงานร่วมกันภายในองค์กร
  5. เรียนรู้ปัญหาของการสื่อสารประสานงานและแนวทางการแก้ไขเพื่อลดความขัดแย้งในการทำงานภายในองค์กร
  6. เรียนรู้การปรับตัวเข้าหาเจ้านายเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงานร่วมกัน
  7. เรียนรู้การประยุกต์ใช้หลัก DISC เพื่อการทำงานให้ได้เป้าหมายและได้ใจเพื่อนร่วมงาน

กลุ่มเป้าหมาย

              ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงาน

รูปแบบการสัมมนา

  1. การบรรยาย 30 %
  2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 60%
  3. กรณีศึกษา   10 %

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้พฤติกรรมของตนเองและพฤติกรรมของผู้อื่นเพื่อการปรับตัวปรับความคิดในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างเข้าใจ
  2. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ข้อดีและข้อเสียเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 660,215