ตั้งเป้าหมายให้เร้าใจ สไตล์ Coaching ตอนที่ 2

การพูดคุยกับลูกน้องเรื่องการตั้งเป้าหมาย (#2)

ลักษณะของเป้าหมายที่ SMART อย่างที่สอง คือ

เป้าหมายต้องวัดผลได้ Measurable

เป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงโดยส่วนใหญ่จะเป็นเป้าหมายที่วัดได้อยู่แล้ว

เช่น การเพิ่มรายได้ !0% หรือการเพิ่มจำนวนลูกค้า 10% หรือ 20 ราย หรือการลดต้นทุนลง 500,000 บาทต่อเดือน เป็นต้น

ความเฉพาะเจาะจงและสามารถวัดผลได้ จะทำให้เราสามารถมองย้อนกลับไปได้ว่า 

เราได้ทำอะไรลงไปบ้าง ได้ผลเป็นยังไงบ้าง

เพื่อที่จะเรียนรู้และปรับแก้เมื่อทำการ Review ผลงาน ไม่ว่าจะเป็นรายเดือน รายไตรมาส หรือรายหกเดือน

แต่เป้าหมายที่วัดไม่ได้จะทำให้มีโอกาสที่จะทำให้สำเร็จนั่นน้อยมาก 

และเป็นเรื่องยากที่จะรู้ด้วยว่าเราบรรลุเป้าหมายไปแล้วหรือยัง

และหลายครั้งที่เป้าหมายอาจจะเป็นเรื่องที่จับต้องได้ยาก 

ซึ่งหัวหน้าสามารถใช้เทคนิคการพูดคุยเพื่อช่วยลูกน้องตั้งเป้าหมายที่สามารถวัดผลได้

เช่น

“ลูกน้อง” ตั้งเป้าหมายอยากจะ...

“พัฒนาความสามารถในการพูดคุยนำเสนอให้ดีขึ้น”

หรืออยากจะ...

"มีความมั่นใจในการนำเสนองานมากขึ้น"

 ในกรณีนี้หัวหน้าสามารถใช้เทคนิคการพูดคุยแบบนี้ได้ครับ

“พี่ขอชื่นชมเธอมากๆที่พยายามจะพัฒนาตัวเองมากขึ้น เพื่อทำงานได้ดีขึ้น
เนื่องจากเป้าหมายการนำเสนอได้ดีขึ้น ปัจจุบัน หรือปีนี้ความสามารถในการนำเสนอของเธอเป็นยังไงบ้าง 
ถ้าจะให้ลองประเมินเป็นคะแนนดู ระหว่าง 1  ถึง 10  โดยที่ 1 คือ ไม่ดีเลย และ 10 คือ ยอดเยี่ยม สมบูรณ์ 
ตอนนี้เธออยู่ตรงไหน”

เมื่อลูกน้องบอกมาแล้ว เช่น 6 คะแนนค่ะ

หัวหน้าสามารถถามต่อได้เลยว่า… 

“6 คะแนน มันประกอบขึ้นจากอะไรบ้าง ช่วยบอกพี่มาเป็นข้อๆหน่อยได้ไหม”

 ซึ่งจะช่วยให้ลูกน้องค่อยๆ นึกออกมาได้ เช่น...

“ที่ให้ 6 คะแนน เพราะว่าการพูดมีราบรื่นในบางครั้ง, น้ำเสียงดังพอประมาณ แต่ไม่ดังมาก, เนื้อหาที่เตรียมในแต่ละครั้งคิดว่าสมบูรณ์แล้ว
มาถึงตรงนี้จะเห็นว่ามีอยู่ 3 ประเด็นที่ลูกน้องคนนี้ให้ความหมายกับคำว่า "พัฒนาการนำเสนอได้ชัดเจนมากขึ้น"

ซึ่งหัวหน้าสามารถใช้คำถามเพิ่มเติมเพื่อทำให้มันวัดผลได้ เช่น

“แล้วปีหน้านี้ ที่เธอบอกว่าอยากพัฒนาการนำเสนอ เธอต้องการจะเพิ่มเป็นกี่คะแนน”

เมื่อลูกน้องบอกมาว่าแล้วว่ากี่คะแนน…หัวหน้าสามารถถามต่อได้ว่า

“เมื่อเธอได้ 8 คะแนน การนำเสนอของเธอจะเป็นยังไงบ้าง ทั้งความราบรื่นในการนำเสนอ, น้ำเสียง, เนื้อหา 
หรือเรื่องอื่นๆ ที่เพิ่มมากขึ้นอีก”

พอถึงตอนนี้ จะเห็นว่าเป้าหมายเดิมที่เป็นนามธรรมจะเริ่มวัดผลได้แล้วครับ 

และทั้งหัวหน้าและลูกน้องก็จะมีความชัดเจนมากขึ้นในการทำเป้าหมายนี้ให้สำเร็จในปีถัดไปครับ

ในบทความถัดไป เราจะมาพูดถึงวิธีการพูดคุยกับลูกน้องให้ตั้งเป้าหมายแบบ SMART ในตัวถัดๆไปกันนะครับ

  

คิดบวก คิดถึง Dr.fish

ณกรณ์ ชัยณกุล

Performance Coach, Trainer, Author

Associate Certified Coach (ACC), International Coach Federation

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 713,412