2 ทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิตอลเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จ

ในยุคสังคมก้มหน้า เพราะไม่ว่าเราจะหันไปทางไหนก็เจอแต่ผู้คนที่มักใส่ใจกับ Smart Phone ของตนเอง

จนไม่เงยหน้ามองตรง ได้แต่ก้มหน้ากันตลอดเวลา แม้กระทั่งเดิน ขับรถ เราก็ไม่คิดจะละสายตาออกจากสิ่งที่

เรียกว่า โลกโซเชียลมีเดีย ซึ่งในโลกโซเชียลมีเดียสำหรับมุมมองผมนั้น ย่อมมีทั้งประโยชน์และโทษครับ

ในทางประโยชน์ คงเป็นเรื่องความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อโลกอินเตอร์เน็ต และการทำธุรกรรม

ที่วันนี้ไม่ต้องออกจากบ้านไปเดินเบียดผู้คนตามห้างสรรพสินค้า หรือ ธนาคารต่าง ๆ

แต่เราสามารถใช้ความสะดวกสบายจากโลกอินเตอร์เน็ตในการเชื่อมต่อถึงสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น 

และจะมองถึงประโยชน์อย่างเดียวก็คงไม่ได้ครับ เพราะเหรียญย่อมมี 2 ด้านให้เราหันมามองด้านที่ต้อง

ระมัดระวัง เพราะอะไรที่ง่าย ก็มักมาพร้อมกับการขาดสติในการใช้ เช่น การชำระเงินที่ง่ายอาจทำให้เรา

เกิดการซื้อของที่ใช้ระบบตัดบัตรเครดิต ซึ่งคลิกเดียว ของก็มาส่งถึงหน้าประตูบ้าน

ซึ่งหากเรามีเงินชำระเมื่อบิตรมาถึงก็คงไม่เป็นอะไร ทว่าหากเราไม่มีเงินชำระหรือจ่ายเพียงขั้นต่ำ

หายนะย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ จากการขาดสติในโลกอินเตอร์เน็ต ที่ผมเกริ่นมาทั้งหมดนั้น

แค่อยากจะเตือนสติคุณผู้อ่านทุกท่านว่า หากเราใช้อินเตอร์เน็ต หรือ โซเชียลมีเดีย

ในทางที่เกิดประโยชน์ได้นั้น ชีวิตเราย่อมก้าวไปข้างหน้าครับ เพราะโลกโซเชียลมีเดียเป็นโลกที่ไร้พรมแดน

และเปิดโอกาสให้คนธรรมดา ๆ สามารถมีชื่อเสียง หรือมีช่องทางในเชิงการตลาดได้มาก ๆ ครับ

หากเรามุ่งหวังใช้ในด้านที่เป็นประโยชน์ รู้จักให้สิ่งดี ๆ ต่อคนอื่น ไม่มุ่งหวังใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย

หรือใช้ในเชิงการบ่น ด่า ซึ่งทำให้ผู้อื่นเสียหาย เสียหน้า เสียใจ และเสียความรู้สึก

ทุกอย่างย่อมมีดีในตัวมันเองครับ และโดยเฉพาะคนทำงานที่อยากก้าวไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดด

เราคงต้องรู้จักวิธีคิดและวิธีในการสื่อสารที่ดีเพราะหากเรามีวิธีคิดที่ดี เป็นวิธีคิดในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ

รู้จักสื่อสารเพื่อให้คนอื่นรับรู้ในสิ่งที่ทำ เหมือนคุณตูน บอดี้สแลม ที่มีวิธีคิดในเชิงบวก รู้จักการเป็นผู้ให้

และใช้ช่องทางอินเตอร์เน็ต หรือโซเชียลมีเดีย ในการประชาสัมพันธ์ถึงโครงการก้าวคนละก้าวในการวิ่งจากใต้สุด

คือ เบตง ไปเหนือสุด คือ แม่สาย เพื่อรับบริจาคเงินมาซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อโรงพยาบาลต่าง ๆ

ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จมาก ๆ จากเป้าหมายเงิน 700 ล้านบาท สู่หลัก 1,300 ล้านบาท

ดังนั้น หากเราอยากเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในยุคดิจิตอลนั้น เราคงต้องเรียนรู้วิธีคิดต่าง ๆ

จากคนที่ประสบความสำเร็จมาก ๆ ครับ เรียนรู้ระบบความคิดว่าเขาคิดอย่างไรในการก้าวไปสู่สิ่งที่ฝันได้

ในเชิงรูปธรรม เขาปฏิบัติตัวต่อคนอื่นอย่างไร และเครื่องมืออะไรที่เขาใช้ในการสร้างการรับรู้ให้คนติดตาม

ผมมีไอเดียมาแบ่งปันอยู่ 2 เรื่อง นั่นคือ ระบบความคิดที่ดี + การสื่อสารที่ดี โดยเริ่มต้นจากระบบความคิดก่อน

นะครับ

1.คิดเชิงบวกบนพื้นฐานความเป็นจริง

ปัญหาของคนส่วนใหญ่ที่ผมมักสังเกตในการเดินทางไปบรรยายตามที่ต่าง ๆ หรือ การเข้าพักโรงแรมต่าง ๆ

นั่นคือ ทุกองค์กร หรือ ทุก ๆ โรงแรม มักมีระบบงานที่เป็นมาตรฐานที่สูงครับ แต่ลูกค้าจะเข้าใช้บริการ

หรือซื้อสินค้านั้น กลับเป็นเรื่องของการบริการครับ หากที่ไหนมีการบริการที่ดีจนทำให้ลูกค้าประทับใจ

ลูกค้าคนนั้นย่อมพร้อมจ่ายค่าบริการที่สูงขึ้นและกลับมาใช้บริการซ้ำ หรือ บอกต่อในทางที่ดี

กลับกันหากการบริการไม่ดีไม่ประทับใจ เขาย่อมพร้อมจากไปใช้ที่อื่น และบอกต่อในเชิงเสียหาย

เพราะเกิดจากความไม่พอใจในการบริการนั้น ๆ ดังนั้น ทุก ๆ องค์กรไม่ว่าจะเป็นธุรกิจผลิต หรือ บริการ

ควรมีการสร้างทัศนคติในเชิงบวกให้คนในองค์กร ได้ตระหนักถึงการทำงานแบบมืออาชีพ

และทำงานในเชิงรุก มากกว่าทำงานไปวัน ๆ โดยเริ่มต้นจากการตระหนักถึงการทำงานร่วมกันภายในองค์กร

ที่ต้องมีความสามัคคีเป็นที่ตั้ง ติดตั้งระบบการคิดในเชิงบวกโดยเน้นการจับถูก ให้มากกว่า การจับผิด

(จับถูก คือ การมองข้อดีของคนอื่นก่อน ส่วน จับผิด คือ การมองข้อเสียของคนอื่นก่อน)

เน้นการคิดดี พูดดี ต่อคนทำงานร่วมกันในองค์กรไม่ว่าจะเป็นวัยไหน ก็ต้องรู้จักการให้เกียรติซึ่งกันและกัน

มีสัมมาคารวะต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในการทำงานร่วมกันหากเราเด็กกว่า เคารพในความคิดที่แตกต่างกัน

ซึ่งหากปัจจัยภายในทุกคนมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน เข้าใจเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน และมีความสุข

ในการทำงาน ย่อมส่งผลให้พนักงานทุกคนมีความพร้อมและตั้งใจทำงานเพื่อทำให้ปัจจัยภายนอก

คือ คนที่มาซื้อสินค้าหรือมารับบริการได้ความประทับใจและพร้อมกลับมาซื้อซ้ำหรือบอกต่อได้ไม่ยาก

ปัจจัยความสำเร็จkey success factor ในการคิดเชิงบวก

1.1 คิดเชิงบวกในแบบมองโลกตามความเป็นจริง รู้จักแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้โดยไม่หนีปัญหา

1.2 รู้จักยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่ใช้อารมณ์เชิงลบต่อคนอื่นที่ทำงานร่วมกัน

1.3 มีสัมมาคารวะต่อคนอื่น ๆ ที่ทำงานร่วมกัน ให้เกียรติคนอื่น และถ่อมตัวอยู่เสมอ

 

2.สื่อสารสร้างมนุษย์สัมพันธ์

เพราะการทำงานต่อให้เก่งแค่ไหน ก็ทำงานตัวคนเดียวไม่ได้ครับ เราต้องติดต่อประสานงานกับผู้คน

เพื่อการทำงานที่ก้าวไปข้างหน้า หรือ การพูดคุยกันเพื่อแก้ไขปัญหาโดยระดมความคิดที่แตกต่าง

ความเชี่ยวชาญที่แต่ละคนมีมาสร้างแนวทางเพื่อเอาชนะอุปสรรคที่ขวางหน้าอยู่ เหมือนเหตุการณ์

น้อง ๆ ทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี่ทั้ง 13 ชีวิต ที่ติดติดอยู่ในถ้ำหลวงจากภัยพิบัติน้ำท่วมถ้ำ

ซึ่งเป็นงานที่หินและท้าทายมาก ๆ ซึ่งเราจะเห็นว่าทุกหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ต่างระดมสมองเพื่อคิดหาทางในการช่วยเหลือให้น้อง ๆ ทั้ง 13 ชีวิต ปลอดภัยโดยจะเห็นว่า

การสื่อสารนับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะมีผู้คนติดตามหลาย ๆ ประเทศให้ความสนใจ

ซึ่งในมุมมองผมนั้น คนที่บริหารจัดการสื่อมวลชนสามารถสื่อสารออกมาได้ดีมาก ๆ

ซึ่งการสื่อสารหากเราสื่อสารได้ดี ชัดเจน ตรงไปตรงมา ย่อมทำให้คนรับสารเข้าใจในทิศทางเดียวกัน

ทว่า ปัญหาของการสื่อสารนั้นนับวันย่อมมีปัญหาไม่จบไม่สิ้น เพราะบางคนสื่อสาร แต่บางคนกลับไม่สื่อสาร

ซึ่งปัญหาของการสื่อสารจากที่ผมได้มีโอกาสไปบรรยายตามที่ต่าง ๆ และจากการสังเกตคนประสานงาน

ในการทำงานพบว่า ปัญหาการสื่อสารแบ่งออกเป็น 3 ข้อ

1. ขาดการรับฟังซึ่งกันและกัน

เพราะคนฟังอาจมีอีโก้ หรือ อาจจะรู้เรื่องนั้นแล้ว ซึ่งถ้ารู้อยู่แล้วก็คงไม่เป็นอะไร

แต่ถ้าไม่รู้และมีความเชื่อมั่นต่อตนเองแบบผิด ๆ แบบนี้อันตรายและทำให้การทำงานส่งผลกระทบในความ

เสียหายได้ในอนาคต

2. พูดไม่คิด เงียบ

คนบางคนทุกครั้งที่สื่อสารออกมาถึงแม้จะไม่ได้คิดอะไรต่อคนอื่น หรือ หยอกคนอื่น

เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน ทว่า บางคนเขาอาจไม่อยากเล่นด้วยก็เป็นได้ ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิด

หรือโกรธเคือง จากการส่งสารโดยไม่คิด หรือ บางคนก็ไม่โต้ตอบใด ๆ ทั้งสิ้นกลับเงียบจนทำให้คนอื่น

ไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อไป ซึ่งถือเป็นปัญหาอย่างหนึ่งในการสื่อสารมาก ๆ

3. ใช้เทคโนโลยีมากเกินไป

เพราะการสื่อสารมีทั้งรูปแบบวาจา และลายลักษณ์อักษรครับ

คนบางคนไม่เคยพูดเลย แต่ใช้ลายลักษณ์อักษรในการสื่อสารเพียงอย่างเดียว เช่น การส่งอีเมล์โดยไม่มีการ

โทรไปพูดคุย เพื่อสื่อสารให้คนรับสารได้ทราบว่าได้ส่งอีเมล์ไปหา และอีกปัญหา คือ คนรับอีเมล์ ก็เงียบ

ไม่ส่งข้อมูลกลับมาว่าได้รับอีเมล์หรือไม่อย่างไร จนทำให้การประสานงานเกิดความขัดแย้งได้

ปัจจัยความสำเร็จkey success factor ในการสื่อสารประสานงาน

2.1 รู้จักสื่อสารผ่านการกระทำที่ดี + คำพูดที่ดี + น้ำเสียงที่สุภาพ

การกระทำที่ดี เช่น การรู้จักยิ้ม รู้จักไหว้ ใช้คำพูดที่สร้างสรรค์มีครับ / ค่ะ และน้ำเสียงที่เป็นกันเอง

2.2 รู้จักใช้การสื่อสารทั้งวาจาและลายลักษณ์อักษรพร้อม ๆ กัน

การส่งข้อมูลไปให้ใครผ่านอีเมล์ หรือ โซเชียมีเดีย ควรสื่อสารแบบ 2 ทาง คือ การโต้ตอบกัน

มากกว่าส่งข้อมูลไปทางเดียว และคิดเอาเองว่าเขาคงได้รับแล้ว

2.3 ใช้การสื่อสารที่สั้น กระชับ ไม่ยืดยาว และพูดพร้อม ๆ กันมากกว่าส่งสารไปที่ล่ะคน

2.4 รู้จักการประชุมที่ไม่ตัดสินมุมมองคนอื่น หรือ ว่าคนอื่นในที่ประชุมให้เกิดความอับอาย

2.5 เปิดใจรับฟังความคิดของคนอื่น ๆ ที่เห็นต่างจากความคิดตนเอง เพื่อมุมมองที่กว้างไกล

 

การทำงานในยุคดิจิตอลที่ทุกอย่างดูจะรวดเร็วไปเสียหมด ตัวเราเองนั้นควรตระหนักถึงการทำงาน

ที่ต้องพยายามหาตรงกลางให้เจอ มากกว่าเดินตามความเร็วจนขาดการยั้งคิดในการส่งข้อมูล

เพราะอะไรที่เร็วเกินไป ก็ย่อมมีโอกาสผิดพลาดสูงมาก แต่อะไรที่ช้าเกินไป มัวแต่คิดเยอะก็อาจไม่ทันกิน

จนโดยคนอื่นแซงหน้าได้ ทางสายกลาง จึ่งเป็นเรื่องที่ต้องคำนึง ไม่สุดโต่งจนเกินไป ไม่ช้าไม่เร็วจนเกินไป

รู้จักคิดให้กว้าง 360 องศาก่อนลงมือทำ ใช้สติ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ถึงผลดีและผลเสียที่คาดการณ์ว่า

อาจเกิดขึ้น อย่ามองโลกใบนี้สวยเกินจริง ต้องอยู่กับธรรมชาติอย่างเข้าใจว่า มีเกิด มีดับ มีการเปลี่ยนแปลง

แค่ยอมรับ ปรับตัว เข้าใจ และลงมือทำในสิ่งที่ควรทำ ผมเชื่อครับ ไม่ว่าเราจะทำอาชีพอะไรก็ตาม

หากเรามีวิธีคิดที่เป็นไปในเชิงบวก รู้จักลงมือทำให้เยอะ ขยัน ไม่รอโชคลาภ สำเร็จแน่นอนครับ

 

เชื่อผมเถอะ ++

 

ท่านสามารถติดตาม Dr.fish ได้ทาง Line แล้วตั้งแต่วันนี้ โดยทำตามขั้นตอน คือ

1.ค้นหา ID : Dr.fish กรุณากดลิงก์ด้านล่าง หรือค้นหา ID "@dr.fish" ที่ LINE หรือ LINE@ 

(กรุณาใส่ "@" ด้วย) แล้วเพิ่มเป็นเพื่อนของคุณ

 2. คลิก Link http://line.me/ti/p/%40dr.fish

 

ประโยชน์ที่จะได้รับในการเป็นเพื่อนกับ dr.fish คือ

1.ได้รับข้อมูลการพัฒนาตนเองที่เป็นประโยชน์ วิธีคิดในเชิงบวก ทุกเช้า 7.30 น.ทุกวัน

2. สามารถปรึกษาการทำงาน วิธีคิดได้ตลอดเวลา ไม่ต้องเกรงใจครับ ยินดีมาก ๆ ครับ

 

คิดบวก คิดถึง Dr.fish

เขียนโดย อ.มงคล กรัตะนุตถะ

วิทยากร นักคิด นักเขียน 

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 791,437